Overall Equipment Effectiveness (OEE)

ถ้ามนุษย์มี KPI ไว้วัดประสิทธิภาพการทำงาน เครื่องจักรก็มีสิ่งที่เรียกว่า Overall Equipment Effectiveness (OEE) เพื่อวัดประสิทธิผลการผลิตโดยรวมเช่นกัน โดยในบทความนี้จะพาคุณไปทำความรู้จักกับรูปแบบการวัดผลนี้ เพื่อความเข้าใจและการทำงานที่ถูกต้องมากขึ้น Overall Equipment Effectiveness (OEE): ประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร คือวิธีการคำนวณความสามารถในการทำงานทั้งหมดของเครื่องจักรภายในโรงงาน โดยอ้างอิงจากปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและสรุปออกมาเป็นตัวเลข โดยการคำนวณ OEE จะมีส่วนประกอบหลัก 3 อย่าง คือ ซึ่งส่วนประกอบ 3 อย่างนี้ก็จะมีปัจจัยแยกย่อยลงไป เพื่อให้การคำนวณนั้นตรงกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นภายในโรงงานมากที่สุด การคำนวณ OEE สำหรับการคำนวณ OEE ทางผู้ประกอบการจำเป็นต้องแยก Factor ย่อยๆ ของ OEE ออกมาก่อน แล้วจึงนำไปเข้าสูตรการคำนวณ OEE โดยมีรายละเอียดดังนี้ OEE = อัตราเดินเครื่องจักร x ประสิทธิภาพการเดินเครื่อง x อัตราคุณภาพ อัตราการเดินเครื่องจักร (Availability) อัตราการเดินเครื่องจักร = เวลาเดินเครื่องจักร/เวลารับภาระงาน เวลาเดินเครื่องจักร = เวลารับภาระงาน …

Sensor (Industry)

ในปัจจุบันมีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาในงานอุตสาหกรรม  โดยเฉพาะระบบอัตโนมัติ (Automation) ในไลน์การผลิต บทบาทของ เซ็นเซอร์ จึงเพิ่มสูงขึ้นจนกลายเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่ขาดไม่ได้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจสอบ การตรวจวัดค่าต่างๆ ที่เกิดขึ้นในไลน์การผลิต ซึ่งในบทความนี้จะพาคุณไปรู้จักหลักการทำงานและจุดเด่นของเซนเซอร์ประเภทต่างๆ  เซนเซอร์ (SENSOR) คืออะไร ?  อุปกรณ์ วงจร หรือ ระบบที่ทําหน้าที่ตรวจวัดการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติ หรือลักษณะของสิ่งต่างๆ โดยรอบวัตถุเป้าหมาย เช่น การเปลี่ยนแปลงตำแหน่ง รูปร่าง ความยาว ความสูง และการกระจัด แล้วนำข้อมูล (Big Data) ที่ได้จากการตรวจวัดเข้าสู่กระบวนการแจกแจง และวิเคราะห์พฤติกรรมของการเปลี่ยนแปลง  นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยในการทำนายและป้องกันเหตุการณ์ในอนาคต หากมีการใช้โปรแกรมช่วยในการตรวจสอบ (Preventive maintenance) Proximity Sensor พร็อกซิมิตี้เซ็นเซอร์ (Proximity Sensor) เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถตรวจจับวัตถุได้โดยไม่ต้องสัมผัสกับวัตถุโดยตรงทำให้ไม่เกิดรอยหรือการชำรุดเสียหายของชิ้นงาน ซึ่งจะอาศัยหลักการทำงานจากสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็กบริเวณด้านหน้าของอุปกรณ์ เมื่อเซ็นเซอร์อยู่ใกล้กับวัตถุเป้าหมายมันจะส่งสัญญาณควบคุมออกมา เนื่องจากพร็อกซิมิตี้เซ็นเซอร์มีคุณสมบัติการตรวจจับวัตถุในระยะใกล้หรือไกลได้รวดเร็วแม่นยำ ทนต่อความร้อน แรงกระแทกหรือการขีดข่วนได้ดี และมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน จึงมีหลายรูปทรงให้ได้เลือกใช้งานทั้งรูปทรงกระบอก รูปทรงสี่เหลี่ยม และรูปทรงอื่นๆ อีกทั้งพร็อกซิมิตี้เซ็นเซอร์ยังนิยมนำมาประยุกต์ใช้งานในภาคอุตสาหกรรมกันเป็นจำนวนมาก อาทิเช่น การตรวจจับชิ้นงานที่ไม่สมบูรณ์ ตรวจจับความเร็วรอบ ตรวจจับสิ่งของ ตรวจจับกล่องเพื่อนับจำนวน ตรวจจับระดับน้ำในถังพลาสติก …

Type of Valves (Industry)

วาล์วอุตสาหกรรม คืออะไร ? วาล์วอุตสาหกรรม (Vavle) เป็นอุปกรณ์สำคัญที่มีหน้าที่ควบคุมการไหลของของเหลวในโรงงานอุตสาหกรรม เช่น น้ำ สารเคมี แก๊ส อากาศ โดยวาล์วจะทำหน้าที่คือเปิดหรือปิดทางเดินของเหลว ควบคุมอัตราการไหลได้ สามารถปรับให้ของเหลวไหลในระดับที่ต้องการเปลี่ยนทิศทางการไหลได้โดยง่ายป้องกันการไหลย้อนกลับป้องกันไม่ให้ของเหลวไหลมาผสมกันส่วนการควบคุมการทำงานของวาล์วนั้นมีทั้งวาล์วที่ควบคุมได้เองโดยอัตโนมัติ และวาล์วที่ควบคุมได้โดยใช้มือปรับ การจัดกลุ่มวาล์วได้ 2 ชนิด ตามลักษณะการเปิด – ปิดShut off valves: มีฟังก์ชันการทำงานคือ เปิด และ ปิด เท่านั้นControl Valves: การเปิด – ปิด ปรับเป็น 0-100 % ได้ ทำให้สามารถควบคุมอัตราการไหลได้ดี เกทวาล์ว (Gate valve) เกทวาล์ว (Gate valve) หรือ วาล์วประตูน้ำ เป็นวาล์วที่ใช้กันแพร่หลายอย่างมากทั้งตามโรงงานอุตสาหกรรม และตามบ้านเรือน โดยปกติแล้วท่อน้ำที่ต่อแยกออกมาจากท่อหลัก ก่อนเข้ามิเตอร์จะต้องมีวาล์วปิด-เปิดอยู่ตัวหนึ่ง ซึ่งวาล์วตัวนี้คือ Gate Valve บางที่จะติดตั้ง เกทวาล์ว (Gate valve) ไว้ทางด้านขาออกจากมิเตอร์ด้วย แต่บางที่จะติดตั้ง …

IoT คืออะไร ?

IoT หรือที่ย่อมาจากคำว่า “Internet of Things” ในภาษาไทย ถ้าแปลตรง ๆ เลยก็คือ “อินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง” หรือ “อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง” (แล้วแต่จะเรียก) นั้นคำอธิบายถึงอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีตัวประมวลผล, ตัวรับสัญญาณ, ซอฟต์แวร์ หรือเทคโนโลยีอื่น ๆ ที่มีการเชื่อมต่อและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับอุปกรณ์อื่น ๆ ผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และเนื่องจากแกนหลักของการควบคุมและใช้งานอุปกรณ์ IoTนั้นอยู่ที่ I หรือ Internet ดังนั้นอุปกรณ์เหล่านี้จึงต้องพึ่งพาสัญญาณอินเทอร์เน็ตในการรับ – ส่ง, จัดเก็บ หรือประมวลผลและจัดการข้อมูลต่าง ๆ ภายในระบบตามคำสั่งที่มนุษย์ป้อนลงไป โดยอาจมีการทำงานแบบ M2M (Machine to Machine) หรือ M2H (Machine to Human) ก็ได้ และอุปกรณ์ IoT บางอย่างก็รองรับการสั่งงานจากระยะไกล (Remote) ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหรือแอปพลิเคชันที่เชื่อมต่ออุปกรณ์เข้าไว้ด้วยกันได้ด้วยเช่นกัน โดยอุปกรณ์ IoT แต่ละตัวจะมี “เซนเซอร์ (Sensor)” …